กองทุน SSF (ทดแทน LTF)

สรุปสาระสำคัญ กองทุน SSF (Super Savings Fund) ที่มาแทน LTF ในปี 2563

1. กองทุน SSF ลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท
(เดิม LTF ต้องลงในหุ้นไทยอย่างน้อย 65%)

2. ต้องถือ 10 ปี นับวันชนวัน
(เดิม LTF ถือ 7 ปีปฏิทิน)

3. ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
และเมื่อรวมกับกองทุน RMF, PVD แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
(เดิม LTF ซื้อได้ไม่เกิน 15% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท)


สรุปการปรับปรุงหลักเกณฑ์ RMF

1. ยกเลิกขั้นต่ำในการซื้อ
(เดิม ขั้นต่ำ 3% หรือ 5,000 บาทต่อปี)

2. ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
และเมื่อรวมกับกองทุน SSF, PVD แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
(เดิม LTF ซื้อได้ไม่เกิน 15% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท)


วิเคราะห์กองทุน SSF และ RMF เงื่อนไขใหม่

1. มีผลกระทบทางบวก กับคนที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 1,333,340 บาท (หรือรายได้ไม่เกินเดือนละ 111,112 บาท)

สมมุติ คนที่มีรายได้เดือนละ 50,000 บาท
เดิมจะซื้อ LTF ได้ 90,000 บาท และ RMF ได้ 90,000 บาท

แต่ตั้งแต่ปี 2563 ด้วยมาตรการใหม่
จะทำให้ซื้อ SSF ได้ 180,000 บาท และ RMF ได้ 180,000 บาท ซึ่งเท่ากับว่าลดภาษีได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า!

2. มีผลกระทบทางลบ กับคนที่มีรายได้สูง หรือให้ชัดๆคือ เกินปีละ 1,333,340 บาท (หรือรายได้เกินเดือนละ 111,112 บาท)

สมมุติ คนที่มีรายได้เดือนละ 150,000 บาท
เดิมจะซื้อ LTF ได้ 270,000 บาท และ RMF ได้ 270,000 บาท

ด้วยมาตรการใหม่ จะซื้อ SSF ได้ 200,000 บาท และ RMF ได้ 270,000 บาท ในกรณีที่ไม่มี PVD

แต่ถ้ามีการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ PVD ด้วย จะซื้อได้น้อยกว่านี้อีกเพราะเงื่อนไขคือ รวมทุกอย่างต้องไม่เกิน 500,000 บาท

สรุปแล้ว คนรายได้สูง ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้น้อยลง, คนรายได้น้อย-ปานกลาง ลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น


โดยส่วนตัว เห็นว่ามาตรการใหม่นี้ ถือว่าดี เพราะเอื้อประโยชน์ด้านสิทธิทางภาษีให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศมากกว่าเดิม เพราะมาตรการเดิมนั้น คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือคนที่มีรายได้สูง (เกิน 111,112 บาทต่อเดือน) แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งมีรายได้ที่น้อยกว่ากลับได้ลดหย่อนน้อยกว่า

สำหรับข้อกำหนดของ SSF ที่ต้องถือ 10 ปี (วันชนวัน) บางคนอาจจะบอกว่านานเกินไป แต่อยากให้คิดว่าเป็นการฝึกวินัยในการออม เพื่อใช้ในอนาคตครับ