คุณมีความมั่งคั่ง หรือ Wealth หรือเปล่า?

ต่อเนื่องจากคราวที่แล้วที่เราพูดถึง Survival Ratio
.
วันนี้ เราจะมาดูอัตราส่วนทางการเงินส่วนบุคคล ตัวที่สองที่เราควรรู้จักนั่นก็คือ Wealth Ratio หรืออัตราส่วนความมั่งคั่ง

——

Wealth Ratio หรืออัตราส่วนความมั่งคั่ง 
มีสูตรคือ = รายได้จาก”ทรัพย์สิน” ÷ รายจ่าย

สังเกตว่าจะพิจารณารายได้จาก”ทรัพย์สิน”เท่านั้น ไม่ได้นำรายได้จากการทำงานมาคำนวณด้วย

——

จากตัวอย่างเดิม

นาย A มีรายได้จากการทำงานประจำเดือนละ 20,000 บาท และมีรายได้จากการให้เช่าคอนโด เดือนละ 7,000 บาท โดยนาย A มีรายจ่ายต่อเดือน เดือนละ 18,000 บาท

Wealth Ratio ของ นาย A = 7000 ÷ 18000 = 0.39 เท่า

——

จะเห็นว่านาย A มีค่า Wealth Ratio น้อยกว่า 1 เท่า ซึ่งหมายความว่า นาย A ยังต้องพึ่งพารายได้จากการทำงาน เพื่อนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือ ยังไม่มี”อิสรภาพทางการเงิน” ตามที่คนรุ่นใหม่นิยมพูดกันนั่นเอง
.
แล้วถ้านาย A ต้องมีการ Wealth Ratio มากกว่า 1 เท่าหรืออย่างน้อยๆเท่ากับ 1 เท่าหล่ะ ต้องทำอย่างไร?
.
นาย A มีทางเลือกอยู่สองวิธี คือ

1.หารายได้จากทรัพย์สินให้มากขึ้น เช่น เป็นเจ้าของห้องเช่าเพิ่ม, ลงทุนในหุ้นสามัญ เพื่อรับเงินปันผล ฯลฯ

หรือ

2.ลดรายจ่าย เพื่อให้รายจ่ายต่อเดือนนั้น น้อยกว่ารายได้จากทรัพย์สินในปัจจุบัน

—–

จะเห็นได้ว่า ความมั่งคั่ง หรือ “อิสรภาพทางการเงิน” ไม่ได้หมายความถึงการมีรายได้จากทรัพย์สินเยอะๆ แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น 
.
บางคนอาจมีรายได้จากสินทรัพย์เยอะ เช่น กำไรจากหุ้นหรือเงินปันผล เดือนละ 100,000 บาท แต่เขาอาจจะไม่มีอิสรภาพทางการเงินก็ได้ ทางเขามีรายจ่ายสูงถึงเดือนละ 150,000 บาท 
.
ในทางกลับกัน บางคนมีรายได้จากบ้านเช่าเดือนละ 9,000 บาท เขาอาจจะเป็นคนที่มีความมั่งคั่งก็ได้ ถ้าเขามีรายจ่ายต่อเดือนเพียง 8,000 บาท

—–

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของการมีความมั่งคั่ง หรือ”อิสรภาพทางการเงิน” ไม่ใช่เพราะเราจะได้ไม่ต้องทำงาน 
.
แต่เป้าหมายของการมีความมั่งคั่งทางการเงินแท้จริงแล้ว คือการที่เราสามารถนำเวลาไปทำงานหรือกิจกรรมที่เราอยากทำ โดยไม่ต้องห่วงหรือกังวลด้านการเงินอีกต่อไป เช่น ถ้าเรามีความมั่งคั่งทางการเงินแล้ว เราอาจจะเลือกไปสอนหนังสือให้ความรู้กับคนอื่น โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้หรือค่าใช้จ่าย เป็นต้น
.
การที่อยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย ไม่ได้เรียกว่ามีความมั่งคั่ง หรือ “อิสรภาพทางการเงิน” ครับ แต่เรียกว่า “ขี้เกียจ” ต่างหาก