MC – Louis Vuitton & more
LVMH Moet Hennessy Louis Vuitton SE
ว่ากันว่าบริษัทที่จับกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยม จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจน้อย คนรวยเวลาเศรษฐกิจไม่ดีก็ยังซื้อสินค้า Luxury เพื่อบ่งบอกสถานะ, ภาพลักษณ์และรสนิยม และถ้าเศรษฐกิจดียิ่งซื้อเยอะขึ้นอีก
เมื่อนึกถึงกระเป๋าแบรนด์เนม, Louis Vuitton น่าจะเป็นชื่อแรกๆที่หลายคนนึกถึง โดยบริษัทที่เป็นเจ้าของกระเป๋าสุดหรูนี้ คือบริษัท LVMH Moet Hennessy Louis Vuitton SE (LVMH)
ตั้งแต่ปี 2010 LVHM มีการเติบโตแบบ organic เฉลี่ยปีละ 8% ในขณะที่ตลาดสินค้า Luxury นั้นโตเฉลี่ยปีละ 5%
ปี 2017 LVMH มีรายได้ 42.6 พันล้านยูโร (หรือ 1.6 ล้านล้านบาท), มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน 8.3 พันล้านยูโร (หรือ 312,000 ล้านบาท)
LVMH ไม่ได้เป็นแค่เจ้าของแบรนด์ Louis Vuitton เท่านั้น แต่ยังเป็นเจ้าของแบรนด์ระดับโลกอีกหลายแบรนด์ กระจายไปในหลายกลุ่มสินค้า โดยสามารถแบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
- Wine & Spirits
- ยี่ห้อที่เป็นรู้จักกันดีคือ Hennessy และ Moët & Chandon
- มีรายได้คิดเป็นสัดส่วน 12% ของทั้งกลุ่ม
- Operating margin 31%
- ปี 2017, 2016 เติบโตปีละ 7%
- Fashion & Leather Goods
- ตัวอย่าง แบรนด์ในกลุ่ม คือ Louis Vuitton, Fendi, Dior, DKNY, Marc Jacobs, Givenchy
- มีรายได้คิดเป็นสัดส่วน 36% ของทั้งกลุ่ม (เป็นสัดส่วนที่มากที่สุด)
- Operating margin 32%
- ปี 2017 โต 13%
- Perfumes & Cosmetics
- มีรายได้คิดเป็นสัดส่วน 13% ของทั้งกลุ่ม
- Operating margin 11%
- ตัวอย่าง แบรนด์ในกลุ่ม คือ Christian Dior, benefit, KENZO
- ปี 2017 โต 14%
- Watches & Jewelry
- มีรายได้คิดเป็นสัดส่วน 9% ของทั้งกลุ่ม
- Operating margin 13%
- ตัวอย่าง แบรนด์ในกลุ่ม คือ TAG Heuer, HUBLOT, DE BEERS
- ปี 2017 โต 12%
- Selective Retailing (ร้านค้าปลีกเฉพาะทาง)
- มีรายได้คิดเป็นสัดส่วน 31% ของทั้งกลุ่ม
- Operating margin 8%
- ตัวอย่าง แบรนด์ในกลุ่ม คือ ร้านขายเครื่องสำอางค์ SEPHORA
- ปี 2017 โต 13%
แบรนด์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในมือ LVHM นั้นจัดว่าเป็นอันดับต้นๆ ของแต่ละกลุ่มธุรกิจ (อาจจะมี Perfumes & Cosmetics ที่ไม่ค่อยเด่นนัก) ถือว่า LVMH มีการกระจาย portfolio ของแบรนด์ที่ดีมาก ไม่ได้พึ่งพาเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งมากเกินไป
คุณ BERNARD ARNAULT ผูํ้ซึ่งเป็น chairman และ CEO ของ LVMH มีนโยบายซื้อแบรนด์ Luxury อื่นๆ เข้าสู่พอร์ทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่ต่างกับบริษัท Hermes ที่ไม่มีนโยบายซื้อแบรนด์อื่นเข้ามาบริกหาร อย่างไรก็ตามกลยุทธ์การซื้อแบรนด์เข้ามา ก็แลกมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของ goodwill และ intangible assets
รายได้ของ LVMH เมื่อแบ่งตามภูมิภาค จะเป็นดังนี้
- เอเชีย ไม่รวมญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วน 28%
- อเมริกา 25%
- ยุโรป ไม่รวมฝรั่งเศส 19%
- ฝรั่งเศส 10%
- ญี่ปุ่น 7%
- อื่นๆ 11%
ซึ่งสังเกตว่า รายได้มาจากฝั่งเอเชียสูงถึง 35% (28+7) มากกว่ายุโรป และอเมริกา เสียอีก และถ้าจะมองว่า เอเชีย ไม่รวมญี่ปุ่น นั้นคือ จีน ก็หมายความว่า LVMH พึ่งพารายได้จากประเทศจีนเกือบ 28% เลยทีเดียว ถ้าจีนสะดุด หรือนักลงทุนกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับจีน,หุ้น LVMH (และรวมทั้งบริษัท Luxury goods อื่นๆ ทึ่พึ่งพารายได้จากจีน) ก็คงได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างเช่น Trade war ที่เกิดขึ้นในปี 2018 ระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเชื่อว่าในระยะยาว อย่างไรสินค้า Luxury ก็ยังขายได้ดี การลงทุนกับเบอร์ 1 ของอุตสาหกรรมอย่าง LVMH ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ
You must be logged in to post a comment.