Ping An – บริษัทประกัน ที่มากกว่าประกัน
Ping An Insurance (Group) Company of China, Ltd.
(จดทะเบียนในตลาดฮ่องกง, ticker:2318)
Ping An บริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในจีน และใหญ่เป็นอันดับสองของโลก โดยมีวิชั่นที่จะเป็น one stop shop ด้าน lifestyle financial service สำหรับทุกคน
ธุรกิจหลักของ Ping An แบ่งออกเป็น
1. ธุรกิจประกันชีวิตและสุขภาพ Life and health insurance
มีกำไรจากการดำเนินงานคิดเป็น 65% ของทั้งกลุ่ม
2. ธุรกิจประกันภัย Property and casualty insurance
มีกำไรจากการดำเนินงานคิดเป็น 14% ของทั้งกลุ่ม
3. ธุรกิจธนาคาร
มีกำไรจากการดำเนินงานคิดเป็น 12% ของทั้งกลุ่ม
4. ธุรกิจหลักทรัพย์และบริหารสินทรัพย์
มีกำไรจากการดำเนินงานคิดเป็น 10% ของทั้งกลุ่ม
5. ธุรกิจเทคโนโลยี
มีกำไรจากการดำเนินงานคิดเป็น 4% ของทั้งกลุ่ม
(หักกำไรจากส่วนที่ซ้ำซ้อน 4% จะรวมได้ 100%)
สิ่งที่ทำให้ Ping An เป็นบริษัทประกันที่แตกต่างจากบริษัทประกันอื่นๆคือเทคโนโลยี
Ping An ได้เริ่มลงทุนในเทคโนโลยีอย่างจริงจังตั้งแต่ 11 ปีที่แล้ว ปัจจุบันบริษัทมี developer ด้านเทคโนโลยีมากถึง 30,000 คน, คุณ Jessica Tan, Co-CEO, บอกว่า Ping An เป็นทั้งบริษัทด้านการเงินและบริษัทเทคโนโลยี, เพราะ ณ ปัจจุบัน ไม่มีบริษัทหรือสถาบันด้านการเงินใด, ยกเว้น Ping An, ที่สามารถทำเงินจากฝ่ายเทคโนโลยีของตัวเอง
Growth model ของ Ping An มีสองโมเดล คือ
1. Finance + Technology แบ่งเป็นธุรกิจ Insurance, Banking, Asset Management
2. Finance + Ecosystem ประกอบด้วย 5 ส่วนคือ Financial Service, Health Care, Auto Service, Real Estate Service และ Smart City
ธุรกิจด้านเทคโนโลยีของ Ping An ที่เด่นๆคือ
- Autohome (NYSE: ATHM) แพลตฟอร์มซื้อขายรถยนต์มือ1และมือ2ที่ใหญ่ที่สุดในจีน, ใช้แชทบอทในการสนทนากับลูกค้า ซึ่งบริษัทอ้างว่ามีความแม่นยำสูงถึง 95%, และเคลมประกันเสร็จภายใน 3 นาที
- Good Doctor (ชื่อทางการคือ Ping An Healthcare and Technology, HK: 1833) เป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพทางอินเตอร์เน็ตโดยใช้เทคโนโลยี AI, List ในตลาดหลักทรัพย์ปี 2018 แต่ปัจจุบันบริษัทยังขาดทุนอยู่ โดยผู้บริหารบอกว่ากำลังอยู่ในช่วงเพิ่มรายได้ และจะทำกำไรในอนาคต)
- HealthKonnect แพลตฟอร์มให้บริการข้อมูลสำหรับบริษัทประกันและผู้ให้บริการทางการแพทย์
- OneConnnect แพลตฟอร์มด้านการเงินที่ใช้เทคโนโลยี AI และ Cloud โดย Ping An จะให้บริการกับบริษัทประกันและสถาบันการเงินอื่นๆ ปัจจุบันมีธนาคารใช้แพลตฟอร์มนี้มากกว่า 200 ธนาคาร และขยายไป 10 ประเทศ
- Lufax เป็น online wealth management platform มี AI RM (Relations manager) เดิมเน้นการให้กู้ยืมเงินแบบ peer-to-peer ที่ใหญ่ที่สุดในจีน แต่ปัจจุบันด้วยเงื่อนไขและกฎเกณฑ์จากรัฐบาลจีน, Lufax ต้องเปลี่ยน business model หันมาให้บริการกับสถาบันการเงินมากขึ้น
Ecosystem ต่างๆนี้ สามารถสร้างลูกค้าประกันภัย, ธนาคาร ให้กับ Ping An คิดเป็น 1 ใน 3 ของลูกค้าใหม่ทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของ 2019
อย่างไรก็ตาม สำหรับครึ่งปีแรกของ 2019 ธุรกิจเทคโนโลยี ยังทำกำไรคิดเป็นสัดส่วนเพียง 3.8% ของ กำไรจากการดำเนินงานของ Ping An ทั้งหมดที่ทำได้ โดยลดจาก 7% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
ถึงแม้ว่า Ping An ลงทุนกับเทคโนโลยีไปเยอะและพยายามชูจุดขายนี้ แต่นักลงทุนยังคงให้ valuation บริษัทเป็นบริษัทประกันอยู่ ไม่ใช่มองว่าเป็นบริษัทเทค (ซึ่งค่อนข้างชัดเจนเมื่อดูจากสัดส่วนกำไรของธุรกิจเทค)
ปัจจุบัน (Nov 19) Ping An เทรดที่ PE 9.5 เท่า ในขณะที่บริษัทเทคจีนอย่าง Tencent และ Alibaba เทรดกันที่ PE 33 เท่า และ 22 เท่าตามลำดับ
และเมื่อดูที่ Valuation แบบบริษัทประกัน, Ping An เทรดที่ราคา 1.4 เท่าของ EV ซึ่งก็ถือว่ามีราคาที่ไม่ถูก เมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรม
China Life ที่ P/EV = 0.6
China Pacifice Insurance (CPIC) มี P/EV = 0.7
BLA ของไทย เทรดที่ 0.5 เท่า,
ยกเว้น AIA ที่เทรดสูงกว่า ที่ P/EV = 1.9 เท่า