การบริหารเงินสด (Cash management)

เรามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นทุกวัน ทั้งค่าใช้จ่ายที่รู้ล่วงหน้า สามารถคาดการณ์ได้ เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ชานมไข่มุก ค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่รู้ล่วงหน้า ไม่ได้วางแผนไว้ เช่น ไม่สบายเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ ต้องไปหาหมอ

แต่คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน จะมีรายรับเข้ามาเฉพาะช่วงปลายเดือนเท่านั้น จะเห็นว่าถ้าเราไม่มีการบริหารวางแผนการใช้เงิน เราจะก็จะขาดสภาพคล่อง หรือไม่มีเงินใช้เพียงพอตอนช่วงปลายเดือน ต้องหยิบยืมคนอื่น หรือต้องพึ่งพาอาหารญี่ปุ่น (มาม่า) ในทางกลับกัน บางคนก็สำรองเงินสดไว้เยอะเกินความจำเป็น ทำให้มีค่าเสียโอกาส

เราจึงต้องรู้จักบริหารเงินสดกันครับ

—–

หลักในการบริหารเงินสด คือ การมีเงินที่เพียงพอต่อการใช้จ่ายที่จำเป็น โดยที่ไม่น้อยจนขาดแคลน หรือไม่มากเกินไปจนเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส เพระการถือเงินสดจะได้รับผลตอบแทนน้อยมากหรือไม่ได้เลย

เราควรแบ่งแบ่งเงินสดเป็นสามส่วนตามการใช้จ่าย ดังนี้

1.ใช้จ่ายชีวิตประจำวัน (pocket money) 

โดยทั่วไปควรมีเงินสดส่วนนี้ให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายชีวิตประจำวัน ประมาณ 1-2 สัปดาห์

เช่น น.ส.B มีค่าใช้จ่ายเดินทางวันละ 50 บาท, ค่าอาหารวันละ 250 บาท, ค่าซื้อของใช้ส่วนตัวสัปดาห์ละ 400 บาท

จะได้ว่าในหนึ่งสัปดาห์ น.ส.B จะมีค่าใช้จ่ายรวม 2,500 บาท
ดังนั้น น.ส.ควรจะเตรียมเงินสดไว้ใช้จ่ายชีวิตประจำวัน (pocket money) ประมาณ 2,500-5,000 บาท


2.ใช้ในยามฉุกเฉิน (emergency reserves)

โดยทั่วไปควรมีประมาณ 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน

เช่น น.ส.B มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน เดือนละ 14,000 บาท ก็ควรมีเงินสดเพื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ประมาณ 42,000-84,000 บาท


3.ออมเงินเพื่อรวบรวมไว้ซื้อสินค้าที่มีราคาสูงในอนาคต เช่น รถยนต์ บ้าน
ซึ่งจริงๆแล้วส่วนนี้คือเป้าหมายทางการเงินที่เรามีนั่นเอง


สิ่งที่พึงระวังคือ ถ้าเราถือครองเงินสดหรือรักษาสภาพคล่องมากเกินไป จะเกิดผลเสียคือ ได้รับผลตอบแทนจากการถือครองที่ต่ำ และมีความเสี่ยงที่จะใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น (เห็นเงินสดเยอะ ก็เลยใช้จ่ายเงินเยอะ คิดว่ารวยแล้ว ^^)

—–

คำถามต่อมาคือ แล้วเราควรจะเก็บเงินสดที่แบ่งไว้ทั้งสามส่วนนี้อย่างไรดี ฝากธนาคาร, เก็บไว้ที่บ้าน? 

โอกาสหน้าเราจะมาพูดถึงทางเลือกในการบริหารเงินสดกันครับ