เป้าหมายทางการเงินที่ดีต้อง SMART

บางคนบอกว่าตัวเองมีเป้าหมายทางการเงินแล้ว คือ “ต้องการซื้อรถยนต์หนึ่งคัน”
คุณคิดว่าเป้าหมายทางการเงินนี้ ดีพอแล้วหรือยัง?

—–

คำตอบคือยัง เพราะเป้าหมายนี้ ยังมีความคลุมเครือ ขาดรายละเอียดไม่ชัดเจน เช่น รถยนต์ที่ต้องการซื้อคือรถรุ่นไหน? รถญี่ปุ่น หรือรถยุโรป, มือ 1 หรือมือ 2 ฯลฯ เพราะรถแต่รุ่น แต่ละยี่ห้อ มีราคาไม่เท่ากัน อีกทั้งไม่รู้ว่าต้องการซื้อรถเมื่อไหร่ พรุ่งนี้ ปีนี้ หรือปีหน้า

วันนี้เราจะมาแนะนำว่า องค์ประกอบของเป้าหมายทางการเงินที่ดี ต้องมีอะไรบ้าง

—–

เป้าหมายทางการเงินที่ดี ต้อง SMART
.
S – Specific: เป้าหมายต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ
.
M – Measurable: เป้าหมายต้องวัดผลได้
.
A – Achievable: เป้าหมายนั้นต้องทำสำเร็จได้ มีวิธีทำให้บรรลุเป้าหมาย
.
R – Realistic: เป้าหมายต้องสมเหตุสมผล สามารถบรรลุผลได้
.
T – Time-bound: เป้าหมายต้องมีกำหนดเวลาที่ชัดเจน

—–

จากตัวอย่างเดิม เป้าหมายทางการเงินที่ “ต้องการซื้อรถยนต์หนึ่งคัน” เราก็อาจจะเปลี่ยนเป้าหมายหมายโดยใช้หลัก SMART เป็น
.
“ต้องการซื้อรถยนต์ ราคาไม่เกิน 1,000,000 บาท ภายในระยะเวลา 3 ปี ด้วยเงินดาวน์ 30% และผ่อน 70%”
.
ซึ่งจะเห็นว่าเป้าหมายใหม่นี้ ชัดเจน ทั้งในเรื่องจำนวนเงินที่ต้องการ ระยะเวลาที่ต้องการบรรลุเป้าหมาย และมีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมาย