สรุปหนังสือ พฤติกรรมและจิตวิทยาการลงทุน

The little Book of Behavioral Investing

เขียนโดย James Montier แปลโดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์

บทนำ

X-System ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์เป็นหลัก

C-System ประมวลผมข้อมูลข่าวสารที่มีตรรกะ

การกระทำของเราส่วนใหญ่เกิดจาก X-System

คนเรามีแนวโน้มที่จะคิดด้วย X-System เพิ่มขึ้นภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้

  • ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อน
  • มีข้อมูลไม่ครบ คลุมเครือ
  • เป้าหมายไม่ชัดเจน และมีการแข่งขัน
  • มีความกดดันสูง เพราะมีเวลาจำกัด หรือมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก
  • การตัดสินใจขึ้นกับการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

การลงทุนเป็นเรื่องเรียบง่ายแต่ไม่ง่าย, ซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง และขายเมื่อราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคายุติธรรม

บทที่ 1: เตรียมตัว วางแผน และกำหนดกลยุทธ์ล่วงหน้า

อาวุธที่เราควรมีเพื่อต่อสู้กับกับดักเชิงพฤติกรรมของ Empathy Gap (ช่องว่างของความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน) และการผัดวันประกันพรุ่งก็คือ การให้คำมั่นสัญญาไว้ล่วงหน้า

ตัวอย่างของ Empathy Gap เช่น หลังจากกินข้าวมือใหญ่เสร็จ เราจะไม่นึกถึงความหิวอีก หรือ เราไม่ควรไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตในขณะที่กำลังหิว เพราะจะซื้อมากเกินไป

เซอร์ จอห์น เทมเปิลตัน เมื่อทุกคนกำลังวุ่นวายกับการขายอย่างหมดหวัง มันก็เป็นการยากที่จะต้านทานกระแสแล้วทำการซื้อ ซึ่งกลยุทธ์ที่เซอร์ จอห์น เทมเปิลตัน ใช้คือ ตัดสินใจซื้อก่อนที่จะเกิดการเทขาย “มีรายชื่อหุ้นและราคาเป้าหมาย” และทำคำสั่งซื้อไว้ล่วงหน้า

บทที่ 2: ลงทุนเพิ่ม เมื่อถูกทำให้ตกใจกลัว

พฤติกรรมของนักลงทุนที่เกิดขึ้นในช่วง Bear Market คือความกลัว ทำให้คนมองข้ามหรือไม่สนใจหุ้นราคาถูกที่มีอยู่ในตลาด

ทุกครั้งที่ราคาลดลงจะยิ่งทำให้ความต้องการเงินสดเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเกิด Terminal Paralysis คนที่มีเงินสดจำนวนมากจะพลาดโอกาสในการทำกำไรเมื่อตลาดฟื้นตัว

ยาที่จะรักษา Terminal Paralysis ได้คือ ต้องมีแผนต่อสู้สำหรับการลงทุนครั้งใหม่และต้องยึดมั่นในแผนนั้น  เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดดันที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดในเวลาที่ยุ่งยาก

“เต็มใจที่จะถือเงินสดเมื่อไม่มีโอกาสลงทุนที่น่าสนใจ” “มีวินัยในการขาย”

บทที่ 3: แต่ทำไมฉันจึงควรลงทุนในหุ้นตัวนี้

Illusion of Control เราคิดว่าเราสามารถควบคุมผลลัพธ์ได้ เช่น คนยินดีจะจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 4 เท่า เพื่อซื้อล็อตเตอรี่หากพวกเขาสามารถเลือกหมายเลขได้เอง

แหล่งกำเนิดของการมองโลกในแง่ดีแบ่งได้เป็น ที่มาจากธรรมชาติ และการฝึกฝน

การมองโลกในแง่ดีอาจจะเป็นกลยุทธ์ในการดำรงชีวิตที่ยอดเยี่ยม แต่ความหวังไม่ใช่กลยุทธ์การลงทุนที่ดี

เบน เกรแฮม ตระหนึกถึงอันตรายของการมองโลกในแง่ดีเกินไป

“การที่นักลงทุนขาดทุนจำนวนมาก เกิดจากการซื้อหุ้นที่ไม่มีคุณภาพในขณะที่เงื่อนไขทางธุรกิจกำลังดี ผู้ซื้อคิดว่าผลดำเนินการที่ดีในปัจจุบันคือความสามารถในการทำกำไร และคิดว่าการเติบโตนั้นปลอดภัย”

คำถามที่นักลงทุนที่ยอดเยี่ยมถามตัวเองคือ “ทำไมจึงควรลงทุนในหุ้นตัวนี้” ความช่างสงสัยเป็นคุณสมบัติที่ดีของคนฉลาดและมันน่าละอายที่จะยอมแพ้เร็วเกินไปหรือตั้งแต่แรก (จอร์จ ซันตายานา)

บทที่ 4: เลิกเชื่อผู้เชี่ยวชาญ

มนุษย์เรามีนิสัยที่จะใช้ความมั่นใจแทนการใช้ทักษะ (นักพยากรณ์อากาศ vs คุณหมอ) และเราชอบคนที่มีความมั่นใจมากกว่าและยินดีจะจ่ายเงินจำนวนมากสำหรับที่ปรึกษาที่มีความมั่นใจ (แม้จะไม่ถูกต้องแม่นยำ)

คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทำให้สมองของเราหยุดกระบวนการตัดสินใจทางการเงิน เราจะเพียงทำตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ความมั่นใจในตัวเองที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อความมั่งคั่งของคุณ

เราไม่จำเป็นต้องฉลาดกว่าคนอื่น แต่เราต้องยึดมั่นในวินัยการลงทุนของเรา ไม่สนใจการกระทำของคนอื่นและหยุดฟังพวกที่เรียกตัวเองว่าผู้เชี่ยวชาญ

บทที่ 5: เตรียมตัว – อย่าทำนาย

เล่า จื้อ กล่าวว่า “คนที่มีความรู้จะไม่ทำนาย คนที่ทำนายมักไม่มีความรู้”

เมื่อมีการกำหนดตัวเลข เรามีแนวโน้มที่จะยึดติดกับมันโดยไม่รู้ตัว เช่น ให้ผู้บริหารกองทุน 600 คน เขียนหมายเลขโทรศัพท์ของพวกเราสี่ตัวท้าย จากนั้นให้คาดการณ์จำนวนหมอที่ทำงานในลอนดอน ผลคือ ผู้ที่มีหมายเลยโทรศัพท์เท่ากับและสูงกว่า 7000 คิดว่าจะมีหมอทำงานประมาณ 8000 คน ในขณะที่ผู้ที่มีหมายเลยโทรศัพท์ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 3000 คิดว่ามีหมอทำงานประมาณ 4000 คน

ทางเลือกที่ดีกว่า เช่น

  1. ใช้ราคาตลาดปัจจุบัน แล้วคำนวณย้อนกลับไปหาอัตราการเติบโตในอนาคต และเปรียบเทียบอัตราการเติบโตนี้กับอัตราการเติบโตในอดีต (PE, growth ในอดีต vs อนาคต)
  2. เปรียบเทียบมูลค่าทรัพย์สิน กับมูลค่าของความสามารถในการทำกำไร
  3. โฮเวิร์ด มาร์ค “คุณไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่คุณสามารถเตรียมตัวได้”

เบนจามิน เกรแฮม “คุณไม่จำเป็นต้องรู้น้ำหนักตัวที่แน่นอนของคน เพื่อจะรู้ว่าพวกเขามีน้ำหนักมากเกินไปหรือน้อยเกินไป”

บทที่ 6: แยกแยะสัญญาณจากสิ่งรบกวน

ข้อมูลมาก ทำให้ความมั่นใจเพิ่มขึ้น แต่ความถูกต้องไม่ได้เพิ่มขึ้นตามข้อมูลที่มี

การใช้การตรวจสอบแบบง่ายๆ (checklist) ซึ่งให้ความสนใจกับสิ่งที่สำคัญจริงๆ ย่อมจะดีกว่าสิ่งรบกวนที่กระจายไปทั่วตลาด

ควรให้ความสนใจองค์ประกอบเหล่านี้เป็นพิเศษ

  1. การประเมินมูลค่า: หุ้นตัวนี้ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากไหม
  2. งบแสดงฐานะทางการเงิน: หุ้นตัวนี้กำลังจะล้มลายหรือไม่
  3. วินัยการใช้เงินทุน: ผู้บริหารจัดการกับเงินสดที่ผมให้พวกเขาไปอย่างไร

บทที่ 7: ความผันผวนคือโอกาส

ข้อมูลที่มีผลทางจิตใจ แต่ไม่มีประโยชน์ในการตัดสินใจ (Placebic Information)

คนที่สนใจคำแนะนำการลงทุนที่มุ่งเน้นที่ราคามักจะประสบกับความหายนะ

ความผันผวนส่วนใหญ่ทำให้เสียโอกาสที่จะได้กำไร และความไม่แน่นอนที่เกิดความความผันผวนมักจะทำให้คนทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความผันผวนนั้นได้

บทที่ 8: ถึงเวลาพิสูจน์ว่าตัวเองคิดผิด

อคติที่เกิดจากการยืนยันความเชื่อ เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นทั่วไปในการลงทุน เรามีแนวโน้มที่จะค้นหาข้อมูลที่สอดคล้องกับความเชื่อหรือความคิดของเรามากกว่าจะค้นหาข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเชื่อเราถึงสองเท่า

เราต้องเรียนรู้ที่จะมองหาหลักฐานที่พิสูจน์ว่าการวิเคราะห์ของเรานั้นผิด

บทที่ 9: เมื่อข้อเท็จจริงเปลี่ยน ก็เปลี่ยนความคิด

กลุ่มคนที่เชื่อในภาวะตลาดหมี หรือตลาดกระทิง โดยทั่วไปแล้วพวกเขาทำกำไรไม่ค่อยได้ พวกเขามักจะสร้างต้นแบบของข้อสรุปไว้ก่อนแล้ว และลังเลที่จะเปลี่ยนข้อสรุปเมื่อได้รับข้อมูลใหม่

บริษัทจะบอกว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำคือสิ่งที่ธุรกิจของพวกเขาต้องเผชิญ และพวกเขาไม่ได้รับผลกระทบ!

โดยทั่วไปคนมีแนวโน้มที่จะ ไม่มีปฏิกิริยาต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนด้วยสัญญาณที่ชัดเจน

แต่จะ มีปฏิกิริยาที่มากเกินไปต่อสภาพแวดล้อมคงที่และเต็มไปด้วยสัญญารบกวน (ตลาดขาขึ้น)

ต้นทุนจม

ควรทำให้เหมือนกระดาษเปล่าและสมมุติว่าเราอยู่ที่จุดเริ่มต้นที่เป็นศูนย์ (ไม่มีกำไรหรือขาดทุน) และบอกกับตัวเองว่า จากข้อมูลที่มีในขณะนี้ เราจะเริ่มซื้อหรือขาย

พูดง่ายแต่ทำยาก วิธีแก้คือลองคิดว่าเป็นการลงทุนของคนอื่นไม่ใช่ของตัวเอง

บทที่ 10: เน้นที่ข้อเท็จจริง

เรื่องเล่า ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ โดยที่ไม่สนใจข้อเท็จจริงเลย

เป็นไปได้ที่นักลงทุนจะหลีกเลี่ยงหุ้นคุณค่าเพราะบริษัทมีเรื่องราวหรือข่าวที่ไม่ดีและมีราคาต่ำ

นักลงทุนมักจะจ่ายเงินมากเกินไปสำหรับการเติบโตที่คาดหวัง

การป้องกันตัวจากเรื่องชวนหลงใหล คือ ต้องเน้นที่ข้อเท็จจริง (ใช้เฉพาะตัวเลขที่แท้จริง) ส่วนใหญ่เรื่องชวนหลงใหลจะมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง

บทที่ 11: คุณได้เปรียบมืออาชีพอย่างมาก

นักลงทุนมัวแต่ดูรายละเอียดและสิ่งรบกวนทั้งหมด และลืมที่จะดูภาพใหญ่

หากตลาดดูดีเกินกว่าจะเป็นจริงได้ มันก็น่าจะเป็นเช่นนั้น

อุปสรรคที่ทำให้นักลงทุนจำนวนมากไม่สามารถต่อสู้กับฟองสบู่คือ การมองการณ์ไม่ไกลหรือการให้ความสำคัญในระยะสั้นมากเกินไป

คำพูดที่แพง (น่ากลัว) สำหรับการลงทุนคือ This time is different (เซอร์ จอห์น เทมเปิลตัน)

มืออาชีพจำเป็นต้องลงทุนด้วยความเสี่ยงต่อไปถึงแม้พวกเขาจะรู้ว่านั่นอาจจะเป็นฟองสบู่ เพราะถ้าเขาไม่ลงทุนหุ้นหรือธุรกิจที่ร้อนแรง เขาก็จะแพ้มืออาชีพคนอื่นๆ และต้องตกงาน แต่คุณสามารถหลีกเลี่ยงการลงทุนที่น่าจะเกิดฟองสบู่นั้นได้

บทที่ 12: จดจำความผิดพลาดและอคติของคุณ

  • อคติจากการเข้าข้างตัวเอง (Self-Attribution Bias)

“ความเสียหายไม่ได้เป็นเพราะโชคไม่ดี แต่เป็นเพราะวิเคราะห์ผิด”

  • อคติจากกการเข้าใจปัญหาหลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว (Hindsight Bias)

บันทึกการลงทุน (บันทึกความคิดที่ทำให้เราตัดสินใจลงทุนในขณะนั้น) จะทำให้เรารู้ว่า เรา “ถูกด้วยเหตุผลที่ผิด หรือผิดด้วยเหตุผลที่ถูก” โดยปราศจากอคติทั้งสองแบบ และช่วยให้เราเรียนรู้จากความผิดพลาด

บทที่ 13: อย่าประเมินคุณค่าของการอยู่เฉยๆ ต่ำเกินไป

ในทศวรรษที่ 1950, 1960 นักลงทุนเคยถือหุ้นนานประมาณ 7-8 ปี แต่ปัจจุบันระยะเวลาการลงทุนเฉลี่ยใน NYSE คือประมาณหกเดือน!

เราเรียนรู้อะไรจากผู้รักษาประตู? เวลายิงจุดโทษ ถ้าผู้รักษาประตูอยู่ตรงกลางไม่พุ่งไปซ้ายหรือขวา มีโอกาสที่จะป้องกันประตูได้มากกว่า แต่มีผู้รักษาประตูเพียง 6% เท่านั้นที่ยืนตรงกลาง เพราะพวกเขารู้สึกว่าอย่างน้อยก็ได้ใช้ความพยายาแล้ว

ผลงานยิ่งแย่ ความต้องการแสดงออกก็ยิ่งมาก

ความอดทนเป็นอาวุธที่สามารถใช้ป้องกันตัวเองจากการเป็นนักลงทุนที่มีกิจกรรมซื้อขายมากเกินไป

หากคุณไม่สามารถค้นหาสิ่งที่ควรลงทุน การอยู่เฉยๆไม่ทำอะไรเลยจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

การถือเงินสดอาจทำให้อึดอัด แต่ไม่อึดอัดเท่ากับการทำอะไรโง่ๆ

ในโลกที่นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจที่จะค้นหาวิธีทำกำไรทุกนาทีและไขว่คว้าหาความคิดใหม่ๆ มันก็ควรจะยอมรับได้ที่จะไม่ทำอะไรและนั่งรอจนกว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้น และบ่อยครั้งก็จะรู้สึกโดดเดี่ยวและขัดแย้ง แต่พยายามเตือนตัวเองว่า นั่นคือสิ่งที่มีประโยชน์มาก

การลงทุนควรจะน่าเบื่อ มันไม่ควรจะน่าตื่นเต้น

บทที่ 14: เป็นนักลงทุนที่เป็นตัวของตัวเอง

นักจิตวิทยาพบว่าคนจะคล้อยตามคำตอบของเสียงส่วนใหญ่ (ที่อาจจะไม่ถูกต้อง)

การกระทำสิ่งที่แตกต่างจากฝูงชนเปรียบเสมือนการแสวงหาความเจ็บปวดหรือทุกข์ทางสังคม

“มันเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยม นอกจากคุณต้องทำบางอย่างที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่”

การเอาชนะการคล้อยตามต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ

  1. ความกล้าที่จะแตกต่าง
  2. เป็นนักคิดเชิงวิจารณ์
  3. มีความเพียรและกล้าที่จะยึดมั่นในหลักการ

บทที่ 15: เมื่อเวลาขายเงินลงทุนมาถึง (ต้องรู้จังหวะขาย)

การเกลียดความสูญเสีย (Loss Aversion) ทำให้นักลงทุนยังคงถือหุ้นที่ขาดทุนและขายหุ้นที่กำไร (Disposition Effect)

ยิ่งตรวจสอบพอร์ตโฟลิโอบ่อยเท่าไร แนวโน้มที่จะเผชิญกับการสูญเสีย (การขาดทุน) เพราะธรรมชาติที่ผันผวนของราคาหุ้น ก็ยิ่งมาก

การ Stop Losses อาจะเป็นรูปแบบหนึ่งที่เป็นประโยชน์ของการกำหนดไว้ล่วงหน้า ช่วยลดผลกระทบของ Disposition Effect

Endownment Effect เมื่อคุณเป็นเจ้าของบางอย่าง คุณก็จะเริ่มกำหนดมูลค่าของสิ่งนั้นสูงกว่าที่คนอื่นกำหนด

สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจาก Endownment Effect ได้โดย ให้ประเมินว่า ณ ระดับราคาปัจจุบัน หุ้นตัวนี้ควรจะลงทุนเพิ่มหรือไม่ ในกรณีที่ไม่ ควรขายหุ้นตัวนั้น แล้วนำเงินไปซื้อหุ้นที่ควรลงทุนเพิ่ม

“คุณควรรู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะถือมัน รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะเลิก รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะเดินจากไป และรู้ว่าเมื่อไร่ควรจะวิ่งหนี คุณไม่เคยนับเงินของคุณขณะนั่งที่โต๊ะ มันมีเวลามากพอที่จะนับเงินเมื่อเลิกเล่นแล้ว”

บทที่ 16: สิ่งเดียวที่คุณสามารถควบคุมได้ “กระบวนการ กระบวนการ กระบวนการ”

กระบวนการที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี (สมควรชนะ) หรือผลลัพธ์ที่ไม่ดี (โชคไม่ดี)

กระบวนการที่ไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี (โชคช่วย) หรือผลลัพธ์ที่ไม่ดี (สมควรได้รับ)

สิ่งที่น่ากลัว คือกระบวนที่ไม่ถูกต้อง แล้วได้ผลลัพธ์ที่ดี

เราถูกครอบงำด้วยผลลัพธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ได้ แต่เราสามารถควบคุมกระบวนการลงทุนของเราได้

การบริหารผลตอบแทน เป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้ได้ การบริหารความเสี่ยงก็เป็นสิ่งที่เหลวไหล แต่กระบวนการหรือขั้นตอนเป็นสิ่งหนึ่งที่เราสามารถเข้าไปมีส่วนและควบคุมได้

จิตวิทยาของกระบวนการ

ในการลงทุน ผลลัพธ์มีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง เพราะมันเกี่ยวกับช่วงเวลา มันอาจจะถูกต้อง สำหรับมุมมองในระยะ 5 ปี และอาจจะผิด สำหรับมุมมองในระย 6 เดือน หรือในทางกลับกัน

ความผันผวนของราคา จะมีผลกระทบมากกว่าความผันผวนของปัจจัยพื้นฐานหลายเท่า

Outcome Bias (อคติที่เกิดจากผลลัพธ์) คนมักจะตัดสิน การตัดสินใจในอดีต จากผลลัพธ์ มากกว่าจะตัดสิน บนพื้นฐานของคุณภาพการตัดสินใจด้วยข้อมูลที่มีในขณะนั้น

สรุป: แค่คำสัญญา อาจจะไม่เพียงพอ

ความตั้งใจในปัจจุบัน ไม่มีผลโดยตรงต่อพฤติกรรม

อย่าพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมของเราในเวลาเดียวกันมากกว่า 3 อย่าง เพราะเราไม่สามารถรับการเปลี่ยนแปลงในทันทีได้มากเกินไป ค้นหาอคติที่ทำให้คุณเสียหายมากที่สุด แล้วแก้ไขเป็นอย่างแรก จะช่วยให้ผลตอบแทนของคุณดีขึ้น เราต้องมุ่งเน้นที่กระบวนการ กระบวนการคือหลักเกณฑ์ที่ควบคุมแนวทางที่เราใช้ในการลงทุน ป้องกันไม่ให้เกิดการลงทุนที่ไม่มีเหตุผล