GMD – โลจิสติกส์ทางน้ำครบวงจร

Gemadept Corporation (GMD)

 

เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทของเวียดนาม ที่ให้บริการครบวงจรของ logistic value chain (agents, trucking, DC, warehouse, seaport service, vessels) มี market cap 8,300 พันล้านดอง หรือ 11,680 ล้านบาท ให้บริการครอบคลุมทั้งประเทศ (บริเวณตอนเหนือ –ไฮฟอง และทางตอนใต้- โฮจินมินห์)

 

GMD เป็นเจ้าของท่าเรือรวม 9 ท่า, สถานีพักและกระจายสินค้า, บริษัทในเครือกว่า 10 บริษัท, และมีการลงทุนในบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องคือ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ และ บริษัทปลูกยางพารา (GMD ได้ใช้เงินลงทุนไป 1,200 พันล้านดอง หรือคิดเป็น 14% ของสินทรัพย์รวมของบริษัท แต่จนถึงปัจจุบัน บริษัทยางพารานี้ยังมีผลการดำเนินงานขาดทุน)

 

ในปี 2016 สัดส่วนรายได้ของ GMD มาจากการธุรกิจบริหารท่าเรือ (port operation) 43%  และ ธุรกิจโลจิสติก 57% (แต่กำไรขั้นต้นของ GMD จะมาจากฝั่งธุรกิจบริหารท่าเรือถึง 68%)

 

ระหว่างปี 2012-2016 GMD มีรายได้เติบโตเฉลี่ยปีละ 10%

ปี 2017 GMD มีรายได้ 3,984 พันล้านดอง (VSC  1,300 พันล้านดอง ; HAH 778 พันล้านดอง ; PDN 517 พันล้านดอง)

GMD มีอัตราส่วนตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) และต่อทรัพย์สิน (ROA) ค่อนข้างต่ำ คือ 8% และ 4.5% ตามลำดับ

 

GMD เป็นบริษัทขนาดใหญ่ครบวงจร มีความความสามารถที่จะขยายงาน สร้างโอกาสเติบโตต่อได้ทั้งธุรกิจบริหารท่าเรือ และโลจิสติก แต่ก็แลกมาด้วยการที่บริษัทจะมีต้องมีการลงทุนอยู่ตลอดเวลา และมีโอกาสลงทุนผิดพลาด อย่างเช่น Rubber planation (ซึ่งไม่เข้าใจจริงๆว่าทำไมถึงไปลงทุนในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้อง)

 


 

ในด้าน valuation ของ GMD เมื่อเทียบกับในกลุ่ม ก็ถือว่าแพง เพราะปี 2017 GMD มี PE อยู่ที่ 22 เท่า ในขณะที่หุ้นในกลุ่มจะมี PE อยู่ที่ประมาณไม่เกิน 10 เท่า (จริงๆเทียบแบบนี้อาจจะไม่แฟร์กับ GMD เท่าไร เพราะหุ้นตัวอื่นๆไม่ได้ทำครบวงจรเหมือน GMD แต่ก็พอได้ภาพคร่าวๆ)

 

เมื่อพิจารณา EV/EBITDA ที่นิยมนำมาใช้กับธุรกิจ capital intensive ก็จะพบว่า GMD มี EV/EBITDA สูงถึง 16 เท่า

 

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ GMD มี valuation ค่อนข้างแพง เพราะ GMD มีแผนที่จะ divest หลายๆธุรกิจ ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะส่งผลให้มี one-time financial gain เข้ามาเรื่อยๆ ทำให้นักลงทุนส่วนหนึ่งเข้ามาเก็งกำไร

 

อย่างไรก็ตาม GMD ไม่ค่อยมี foreign room ให้ต่างชาติซื้อครับ