TENCENT – ไม่ได้มีแค่ WeChat

Tencent Holdings Limited

 

เป็นบริษัทจดทะเบียนหลักทรัพย์ของเอเชียบริษัทแรกที่มีมาร์เก็ตแคปสูงถึง 500 billion เหรียญสหรัฐ (บริษัทอื่นๆ ได้แก่ Apple, Alphabet, Microsoft, Amazon, Facebook และล่าสุด Alibaba)

มาร์เก็ตแคป 500 billion เหรียญ นั้นจะเท่ากับมาร์เก็ตแคปของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของไทยคือ PTT รวมกันทั้งหมด 12 PTT

 

TENCENT ก่อต้งเมื่อปี 2541 คนส่วนใหญ่จะรู้จัก TENCENT ในฐานะเจ้าของโปรแกรมแชทอันโด่งดังจากเมืองจีนคือ WeChat

ว่ากันว่าคนจีนนั้นมีชีวิตผูกพันกับ WeChat ตั้งแต่ตื่นนอนถึงเข้านอน คนจีนใช้ WeChat ทำทุกสิ่งอย่างตั้งแต่ส่งข้อความ, เล่นเกม, ดู video, ซื้อของออนไลน์,จ่ายบิล,สั่งอาหาร,เรียกแท็กซี่ ฯลฯ

 

คนจีนมีประชากร 1,380 ล้านคน แต่มีคนใช้ WeChat ถึง 988 ล้านคน คิดเป็น 70% ของประชากรทั้งหมด (รวมคนที่เข้าถึงและไม่เข้าถึงอินเตอร์เนต) แต่ถ้านับเฉพาะคนที่ใช้ WeChat และจ่ายค่า Subscription fee เพื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ จะมีเพียง 135 ล้านคน หรือเพียง 13.7% ของคนใช้ WeChat ทั้งหมด ซึ่งอาจจะมองว่ายังพอมีรูมให้เติบโตได้อีก (เปลี่ยนจากคนใช้ฟรี เป็นแบบเสียเงิน)

 

แต่ TENCET ไม่ได้มีแค่ WeChat

 

TENCENT แบ่งธุรกิจของ 3 unit

  1. VAS (Value Added Services) แยกย่อยเป็น Social Networks และ Online Games
  2. Online Advertising แยกเป็น Media และ Social Networks
  3. Payment and cloud

 

สัดส่วนรายได้ของ TENCENT จะมาจาก Online Games ถึง 41% โดย Online Game ก็มีทั้งส่วนที่เป็น PC game และ Mobile Game ซึ่งมีเกมยอดฮิตที่ชื่อ HOK (Honor of King) หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ RoV นั่นเอง

 

TENCENT มี Gross Margin สูงถึง 49.2% แต่ถือว่าลดลพอสมควรจาก 59.5% ในปีก่อนๆ ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ GP margin ลดลงค่อยข้างเยอะนั้นเป็น เพราะรายได้จากธุรกิจ Online Advertising และ Payment and cloud มีสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่สองธุรกิจนี้จะมี GP margin ที่ต่ำกว่า VAS ทำให้ GP รวมลดลงเยอะ (แต่ตัว VAS เอง margin ก็ลดลงจาก 64.8 เป็น 60.1 เช่นกัน)

 

นอกจาก Online Games แล้วอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจมากๆคือ Payment

อย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันประเทศจีนเป็นสังคมไร้เงินสดแล้ว คนจีนส่วนใหญ่ใช้จ่ายผ่าน mobile payment ซึ่งใน mobile payment นี้จะมีเจ้าใหญ่อยู่สองเจ้าของ WeChat pay (market share 40%) ของ TENCENT และ Alipay (market share 53%) ของ Alibaba

 


 

WeChat Pay vs AliPay

WeChat Pay มี DAU (daily active user) สูงกว่า Alipay เพราะคนจีนส่วนใหญ่ใช้แอป WeChat อยู่แล้วจึงมีแนวโน้มจะใช้ WeChat Pay มากกว่า แต่ถ้ามองในแง่มูลค่าการใช้ Alipay จะมี market share สูงกว่า เพราะ Alipay ของ Alibaba ได้บุกตลาดเป็นพันธมิตรกับร้านค้าใหญ่ๆไว้ ทำให้ถึงแม้ Alipay จะมีคนใช้น้อยกว่า แต่จะมี ticket size ที่สูงกว่า

 

Alipay มีข้อได้เปรียบคือ Tmall และ Taobao เวป e-commerce ของ Alibaba ที่จะจูงใจให้คนใช้ Alipay และร้านค้าพันธมิตร

 

ส่วน WeChat Pay มีข้อได้เปรียบคือมี DAU ของ WeChat ในมือถึง 998 ล้านคน ซึ่งคนเหล่านี้มีโอกาสจะใช้ mobile payment ของ WeChat มากกว่า จำนวน payment user จึงมีโอกาสโตได้มากกว่า และถึงแม้ TENCENT จะไม่มีธุรกิจ e-commerce โดยตรงเหมือน Alibaba แต่ก็เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของ JD คู่แข่ง (ห่างๆ) ของ Alibaba

 

ทั้ง TENCENT และ Alibaba พยายามขยายตลาด mobile payment ของตัวเอง ไปสู่ประเทศต่างๆทั่วโลก เพราะปัจจุบันนี้คนจีนเป็นผู้บริโภคที่สำคัญที่สุดของโลก คนจีนพร้อมจะช้อปปิ้งจับจ่ายใช้สอยทุกที่ อย่างทุกวันนี้ถ้าเราสังเกตดีๆก็จะเห็นว่าห้าง และร้านค้าต่างๆในไทย ต่างแปะป้ายรับ WeChat pay และ Alipay กันโดยส่วนใหญ่แล้ว และยังมีโปรโมชั่นส่วนลดให้ผู้ใช้อีกด้วย

 

นอกจากเป็น gateway payment แล้ว WeChat ยังทำตัวเป็นผู้ปล่อยกู้ผ่านระบบ WeChat ด้วย (Alibaba ก็ทำเช่นเดียวกัน) ในชื่อ Weilidai โดยในปี 2017 ได้ปล่อย loan 100 billion หยวน

 

TENCENT ได้ลงทุนในหลายธุรกิจทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ เพราะหวังว่าจะมาต่อยอดกับธุรกิจเดิม ซึ่งอาจดูน่ากังวลว่า TENCENT จะใช้เงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างเช่น  การเข้าไปลงทุนเพิ่มใน SnapChat ในปี 2017 ด้วยมูลค่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ แลกกับหุ้น 10% ในขณะที่ผลการดำเนินงานของ SnapChat เองนั้นก็กำลังแย่

 

ด้วย ecosystem ที่ WeChat มี ตอนนี้ขึ้นอยู่กับ TENCENT แล้วว่าจะมีโมเดลอะไรมาใช้ประโยชน์และเรียกเงินในกระเป๋าของผู้ใช้ 988 ล้านคนของ WeChat และจะสามารถรักษาการเติบโตที่นักลงทุนคาดหวังไว้ที่ระดับ 40-50% ต่อปีได้นานแค่ไหน (เดือนสิงหาคม 2018 มี PE ประมาณ 40 เท่า)